วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กาแฟดาว


ไร่กาแฟดาวเรืองเป็นไร่ขนาดใหญ่ มีการจัดการที่ดี ต้นกาแฟถูกปลูกเป็นแถวเป็นแนว ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 1.5 เมตร ไม้บังร่มที่เรียก canopy เลือกใช้ต้นขี้เหล็กเกือบทั้งหมด ด้วยเหตุที่มีใบเล็กปล่อยแสงแดดให้กับต้นกาแฟได้อย่างเพียงพอซ้ำใบที่ร่วงลงยังให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์อีกด้วยกาแฟในลาวจะสุกก่อนบ้านเราประมาณ 2 เดือน ในช่วงนี้จึงเริ่มมีการทะยอยเก็บเกี่ยวกันแล้วกาแฟในลาวเกือบทั้งหมดปลูกในที่ราบสูงโบโลเวน สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 1,000 เมตร อากาศเย็นและชุ่มชื้นเกือบทั้งปี เดินทางสะดวกเพราะเป็นที่ราบไม่เหมือนแหล่งปลูกบ้านเราที่เป็นเขาเป็นดอย ส่วนพันธุ์ที่ปลูกนั้นอราบิก้าเกือบทั้งหมดเป็นสายพันธุ์คาติมอร์ ผมไม่แน่ใจว่าสายไหนแต่สังเกตุว่าจะเป็นคาติมอร์ที่แตกยอดเป็นสีน้ำตาลแดง ผิดกับบ้านเราที่ส่วนใหญ่จะแตกยอดใหม่เป็นสีเขียว

3 ความคิดเห็น:

  1. กาแฟของไร่ดาวเรือง ผลิตเป็นระดับอุตสาหกรรมแล้วครับ ปีหนึ่งๆ ส่งออกเมล็ดกาแฟดิบ 4-5 พันตัน เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการจึงใหญ่โต ที่เห็นในภาพถังซีเมนต์ด้านบนซ้ายเป็นถัง demucilage เมื่อเมือกล่อนแล้วค่อยถูกถ่ายลงมาล้างแล้วจึงดูดขึ้นไปปล่อยใส่กระบะรถสิบล้อ เพื่อนำไปตากบนลานซีเมนต์ใหญ่ยักษ์ราวสนามฟุตบอลหลายสนามติดกัน

    ตอบลบ
  2. ธุรกิจหลักของดาวเรืองคือกาแฟ แต่ใน สปป.ลาว ดาวเรืองยังดำเนินธุรกิจต่างๆ มากมายบางคนถึงกับเปรียบดาวเรืองเป็น ซีพีแห่งสปป.ลาว หากจำเพาะเรื่องของกาแฟได้กลายเป็นที่สนใจของทั้งคนไทย และในระดับนานาชาติด้วยการทำการตลาดอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการมีพื้นที่ปลูกเอื้ออำนวยมีดินที่เป็นดินภูเขาไฟ จึงทำให้รสชาติของกาแฟลาวได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ดาวเรืองยังได้รับความช่วยเหลือจากประเทศญี่ปุ่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมถึงความช่วยเหลือในการพัฒนาแปลงปลูกให้สามารถปลูกอราบิก้าสายพันธุ์ทิปปิก้าได้ ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มให้ผลผลิตบ้างแล้วแต่ยังมีปริมาณน้อยมากครับ

    ตอบลบ
  3. ++กาแฟดาวเรือง ทุ่ม 150 ล้าน


    ผุดโรงงาน รับการเติบโตในไทย


    ด้าน ดาวเรือง แบรนด์กาแฟลาวที่ประสบความสำเร็จในการโค่นแชมป์ อย่างคอฟฟีเมตในตลาดกาแฟทุกเซ็กเมนต์ในลาว รวมไปถึงการยกทัพใหญ่เข้ายึดหัวหาดตลาดกาแฟในย่านอินโดจีน ทั้งเวียดนามและกัมพูชา ทั้งยังหันมาใช้แนวคิด "เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ" ยึดตลาดกาแฟไทยในอีสาน เพื่อชิงความเป็นหนึ่งในอินโดจีน


    ทว่าล่วงเข้ามาปีนี้ดูเหมือนทุกอย่างจะไม่ง่ายอย่างที่ ธีรวัฒน์ ดำรงอัครวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทดาวเรือง อิมพอร์ต (ไทยแลนด์) จำกัด หลานชายคนสนิทของ " เลือง(เฮือง) ลิตดัง" เจ้าแม่วงการค้าในสปป.ลาว ผู้สร้างแบรนด์ดาวเรืองจนโด่งดังทั้งอินโดจีน


    "เศรษฐกิจไม่ดีก็จริง แต่สำหรับบริษัทของเราไม่มีปัญหาทุกอย่างจะก้าวไปตามที่ถูกกำหนดเอาไว้ทั้งหมดวันนี้เราได้ลงทุนตั้งโรงงานผลิตกาแฟครบวงจรที่อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี โดยใช้งบไปกว่า 150 ล้านเพื่อเป็นฐานการผลิตในการส่งกาแฟเข้ามาขายในประเทศไทยเพราะเรามั่นใจว่าสินค้ากาแฟดาวเรืองไม่ได้ด้อยกว่าแบรนด์ไหนๆในเมืองไทย"


    ในปี 2551 ก็เป็นบทพิสูจน์แล้วว่าแม้เศรษฐกิจจะไม่ดีแต่สำหรับกาแฟอินสแตน , ทรีอินวัน ของดาวเรืองก็ยังมียอดขายที่สูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง "ธีรวัฒน์" กล่าวอย่างหนักแน่นว่า สินค้าของดาวเรืองคือกาแฟซึ่งเป็นสินค้ามีคุณภาพมีกลุ่มตลาดที่ชัดเจน ที่สำคัญยังมีทีมงานที่มากความสามารถทำให้ไม่หวั่นในเรื่องภาวะเศรษฐกิจ


    "กาแฟคือของกินและเป็นของกินที่หลายคนจะต้องกินแทบทุกวัน เศรษฐกิจมีปัญหาก็จริงแต่จะมีปัญหากับสินค้าพวกอื่นมากกว่าที่จะมากระทบของกิน ที่สำคัญสินค้าของเราราคาก็ไม่ได้แพงอะไรจนลูกค้าเข้าไม่ถึง ทำให้ผู้บริหารในบริษัทมั่นใจที่จะเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ส่วนแผนการตลาดในปี 2552 จนถึงขณะนี้ยังใช้แนวทางเดิมของปี 2551 ไปก่อนจนถึงเดือนมกราคม 2552 เราถึงจะมีการประชุมกำหนดแผนในการขยายตลาด"

    ตอบลบ